เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

น้ำแครอท

น้ำแครอท
ส่วนผสม
- แครอทหั่นชิ้นเล็ก
- น้ำเชื่อม
- น้ำต้มสุก
- น้ำมะนาว
- เกลือ
วิธีทำ
- ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆจากนั้นนำใส่โถปั่น เติมน้ำเชื่อม น้ำต้มสุก น้ำมะนาว เกลือ ปั่นให้เนียนละเอียด จะได้น้ำแครอท สีสันน่ารับประทาน
หมายเหตุ : น้ำแครอท ก็มีคุณประโยชน์ไม่แพ้กันเนื่องจากมีวิตามินเอสูงมาก วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินซี คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส เส้นใย ธาตุเหล็ก และมีสารต่อต้านมะเร็งในกระเพาะอาหาร และลำไส้

น้ำมะขาม

น้ำมะขาม
ส่วนผสม
- เนื้อมะขามสดหรือเปียก
- น้ำเชื่อม
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน
- น้ำเปล่า
วิธีทำ
  1. นำมะขาวสดไปลวนในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลื้อชิมรสตามชอบ
  2. แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียด เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ

หมายเหตุ

คุณค่าทางอาหาร :

มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ

คุณค่าทางยา :

ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

ที่มา : เครื่องดื่มสมุนไพร

น้ำส้มคั้น

น้ำส้มคั้น

ส่วนผสม
- ส้มเขียวหวาน
- เกลือป่นผสมไอโอดีน
วิธีทำ
- นำส้มมาล้างเปลือกให้สะอาด ใช้มีดผ่าขวางลูก คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือ ตักเอาเมล็ดออก ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับ
คุณค่าทางอาหาร :
มีวิตามินเอมากช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินซี ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน
คุณค่าทางยา :
บำรุงโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

น้ำใบเตย

น้ำใบเตย
ส่วนผสม
- ใบเตย
- น้ำเชื่อม
- น้ำเปล่าต้มสุก
วิธีทำ
  1. นำใบเตยสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆใส่หม้อต้มด้วยน้ำสะอาด
  2. พอเดือดก็ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมองเห็นสีของใบเตยสีเขียวอ่อนเจือจาง
  3. ตักใบเตยออกด้วยการกรองให้เหลือแต่น้ำใบเตย
  4. เอาเกลือป่นใส่ครึ่งช้อนชา ตามด้วยน้ำเชื่อม
  5. ปล่อยให้เดือดต่อไปอี 5 นาที
  6. อีกวิธีหนึ่ง เอาใบเตยมาล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้งเอาไปคั่วแล้วเก็บใส่ขวดหรือกระป๋องแบบใบชา ก็จะได้ชาเตยหอม เมื่อต้องการดื่มก็เอาชงแบบชงน้ำชา กลิ่นหอมชวนดื่ม ราคาถูก

หมายเหตุ

คุณค่าทางอาหาร :

ใช่แต่งสีอาหาร เพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร

คุณค่าทางยา :

ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื้น

ที่มา : เครืองดื่มสมุนไพร

น้ำมะเขือเทศ

น้ำมะเขือเทศ
ส่วนผสม
- มะเขือเทศ
- น้ำเชื่อม
- น้ำเปล่าต้มสุก
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน
วิธีทำ
- นำมะเขือเทศล้างให้สะอาด หั่นให้ชิ้นพอประมาณ ใส่ในเครื่องปั่น พร้อมน้ำเชื่อม เกลือ น้ำสุก ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ
หมายเหตุ
คุณค่าทางอาหาร :
มีเบต้า-แคโรทีน สูงมาก ช่วยต่อต้านมะเร็งและวิตามินซี สูงมาก เช่นกันป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา :
ทำให้เกิดความสดชื่นแก้กระหายน้ำ ผิวพรรณผ่อใส ช่วยในการย่อยอาหารดีขึ้น ช่วฟอกเลือดและป้องกันโรคมะเร็ง

น้ำแตงโม

น้ำแตงโม

ส่วนผสม
- เนื้อแตงโม
- น้ำเชื่อม
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน
- น้ำเปล่าต้มสุก
วิธีทำ
- นำเนื้อแตงโม น้ำ น้ำเชื่อม เกลือ ใส่ในเครื่องปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ
หมายเหตุ
คุณค่าทางอาหาร :
มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาและวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา :
ช่วยขับปัสสาวะ ปากเป็นแผล แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ

น้ำขิง

น้ำขิง

ส่วนผสม
- ขิงสด 15 กรัม
- น้ำเชื่อม 15 กรัม
- น้ำเปล่า 240 กรัม
วิธีทำ
  1. นำขิงมาปอกเปลือกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นใส่หม้อใส่น้ำ ตั้งไฟต้ม จนเดือดสักครู่ยกลง กรองเอาขิงออก ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
  2. หรืออีกวิธีหนึ่ง ใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว ใช้กวาดคอ หรือใช้เหง้าขิงสด ตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและใส่เกลือนิดหน่อย ใช้จิบบ่อยๆ

หมายเหตุ

คุณค่าทางอาหาร :

พรั่งพร้อมด้วยสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม บำรุงกระดูกและฟัน และยังมีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านโรคมะเร็งอีกด้วย

คุณค่าทางยา :

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และขับเสมหะแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยเจริญอาหาร กินข้าวได้

นอกจากนั้น ยังลดการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยย่อยอาหารโดยเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่างๆ ต้านการเกิดแผลในกระเพราะอาหาร

ที่มา : เครื่องดื่มสมุนไพร

น้ำตะไคร้

น้ำตะไคร้
ส่วนผสม
- ตะไคร้ทั้งต้นและมีใบ 1 กิโลกรัม
- น้ำเปล่า 4 ลิตร
- น้ำตาลทราย 400-700 กรัม
- กรดมะนาว 0.5-1 กรัม
วิธีทำ
  1. ล้างตะไคร้ให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆนำไปต้มกับน้ำเปล่า 4 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น เพื่อกันไม่ใช้มีเศษตะกอนของใบตะไคร้
  2. ผสมน้ำตาลทราย คนจนน้ำตาลละลายหมด ถ้าชอบรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ให้เติมกรดมะนาวเพื่อความชุ่มคอชื่นใจ แล้วกรองอีกครั้ง ตั้งในเดือด 1-2 นาที ยกลงกรอกใส่ขวดแก้วที่ล้างสะอาด คว่ำให้แห้ง ขณะร้อนอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียล ถ้ากรอกลงขวดพลาสติก ต้องลดให้อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียล กรอกให้เต็มขวด ปิดฝาให้สนิท แล้วแช่น้ำเย็นทันที เมื่อขวดเย็น ให้รีบนำเข้าตู้เย็น สามารถเก็บไว้ได้ถึง 14 วัน

หมายเหตุ

ตะไคร้ ถ้าไม่ใช้สด อาจทำโดยนำตะไคร้ทั้งต้น และใบล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้นๆ นำเข้าตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียล นานประมาณ 2 ชั่วโมง ผึ่งไว้ให้เย็น บรรจุใส่ถุงปิดมิดชิด เวลาจะใช้นำมาต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำ ถ้าไม่อบ อาจนำมาคั่วกับกระทะ จนมีกลิ่นหอม นำไปต้มกับน้ำ แล้วกรองเอาแต่นำนำไปปรุงรส

คุณค่าทางอาหาร :

มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร

คุณค่าทางยา :

แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง

ที่มา : เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

น้ำมะตูม

น้ำมะตูม
ส่วนผสม
- มะตูมแห้ง 100 กรัม
- น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
- น้ำเปล่า 2-3 ถ้วยตวง
วิธีทำ
  1. นำมะตูมแห้งมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปย่างไฟอ่อนจนสุกดี
  2. ตั้งน้ำ 2 ถ้วยตวง ให้เดือด ใส่มะตูมที่ย่างไว้ลงไปเคี่ยวสักครู่ จนมะตูมออกกลิ่นหอม เติมน้ำตาลชิมดูอย่าให้หวานจัด ยกลง กระจะเสริฟร้อนหรือเย็นก็ได้

ที่มา : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

น้ำกระเจี๊ยบ

น้ำกระเจี๊ยบ
ส่วนผสม
- ดอกกระเจี๊ยบสด/แห้ง 20 กรัม (5 ดอก)
- น้ำเชื่อม 30 กรัม( 2 ช้อนคาว)
- น้ำเปล่า 200 กรัม ( 14 ช้อนคาว)
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม (2/5 ช้อนคาว)
วิธีทำ
  1. เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำทำความสะอาด นำใส่หม้อต้ม จนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆ เคี่ยวเรื่อยๆ จนน้ำเป็นสีแดงจนเข้มข้น
  2. เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ยกลงชิมรสตามชอบ
  3. เอาขวดเปล่ามาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำน้ำกระเจี๊ยบแดงมากรอกแล้วปิดจุกให้แน่น แช่ตู้เย็นไว้ได้นาน
  4. หรืออีกวิธีหนึ่ง นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย

หมายเหตุ

คุณค่าทางอาหาร : ให้วิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตา รองลงมามี แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
คุณค่าทางยา : ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ และช่วยแกอาการกระหายน้ำ

ที่มา : เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ว่านหางจระเข้

ว่างหางจระเข้
- Aloe, Aloin,Star Cactus, Jafferabad, Barbados
- Aloe barbadensis Mill, A. indica Royle, A. vera Linn.
- LILIACEAE
ใช้เป็นอาหาร :
วุ้นจากใบ ทำลอยแก้ว วุ้นแช่อิ่ม และทำน้ำว่านหางจระเข้
คุณค่าทางโภชนาการ :
วุ้นและน้ำเมือก จะมีสารพวก Aloethin A เป็นสารพวก Glycoprotein และมีสารอื่นๆ ยางสีเหลือง มีสารออกฤทธิ์ที่เป็นยาถ่าย เป็นสารจำพวกแอนทราควินโนน
ใช้เป็นยา :
น้ำยางจากใบ ผสมกับสารส้มกิน รักษาโรคหนองใน
ใบ ให้ยาดำใช้เป็นยาระบายและเป็นยาถ่ายจะออกฤทธิ์ที่ลำไส้ใหญ่
วุ้นจากใบ รักษาแผลไฟไหม้ การอักเสบของผิวหนังและรักษาแผลที่เกิดจากการไหม้และจากการเอกซเรย์ วุ้นใช้รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฝ้า
ใบสด ใช้ฝานหนาๆ แล้วทาปูนแดงใช้ปิดขมับ รักษาอาการปวดศรีษะ ทำให้เย็น ดูดพิษ
รากและเหง้า นำไปต้มกินรักษาโรคหนองใน
ที่มา : สมุนไพร

มะนาว

มะนาว
- Common Lime,Lime
- Citrus aurantifolia Swing
- RUTACEAE
ใช้เป็นอาหาร :
น้ำจากผล ใช้ปรุงผลอาหารให้มีรสเปรี้ยว ใช้ทั้งน้ำและเปลือกรับประทานกับเมี่ยง ใช้ดองไว้ปรุงอาหาร ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ :
น้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก มาลิค มีวิตามินซีสูง และมีสารอื่นๆ ผิวมะนาว มีน้ำมันหอมระเหย มีวิตามินเอ และซี มีธาตุแคลเซียมฟอสฟอรัสสูงกว่า ในน้ำมะนาวมีสารที่มีรสขม และอื่นๆ
ใช้เป็นยา :
ใบ ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร
ผล คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือผลดองเกลือใช้เป็นยาขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
เปลือกผล เปลือกผลแห้ง ต้มน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร และขับลม
รากสด แก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทกหรือหกล้ม แก้ปวด และแก้พิษสุนัขกัด
ที่มา : สมุนไพร

ขิง

ขิง
- Ginger
- Zingiber officinale Roscoe
- ZINGIBERACEAE
ใช้เป็นอาหาร :
ขิงสด ใช้ปรุงอาหาร เป็นผักจิ้ม ทำขิงดอง ทำน้ำขิง
คุณค่าทางโภชนาการ :
ขิง มีน้ำมันหอมระเหย 1-3 เปอร์เซ้นต์ ทำให้ขิงมีกลิ่นหอม และมีน้ำมันชัน ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเหง้าขิงแก่ๆ สารชนิดนี้ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุน และรสเผ็ด ยังมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและอื่นๆ
ใช้เป็นยา :
ต้น ขับผายลม บรรเทาอาการจุดเสียด แน่นเฟ้อ บำรุงธาตุไฟ รักษานิ่ว ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ท้องร่วงอย่างแรง อาเจียน
ใบ บรรเทอาการฟกช้ำ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม รักษาโรคกำเดาและนิ่ว ขับลมในลำไส้
ดอก ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ และบำรุงธาตุไฟ
ผล รักษาอาการไข้
ที่มา : สมุนไพร

มะเขือเทศ


มะเขือเทศ

-Wild Tomato, Love Apple

-Lycopersion esculentum Mill

-SOLANACEAE

ใช้เป็นอาหาร :

ผลสุก ปรุงอาหารประเภทต้มหรือยำ หรือบริโภคสด แต่งสีอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ :

มะเขือเทศสุก มีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเกือบครบ เช่น เอ บี ซี เค และวิตามินอื่นๆ วิตามินเอนั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะในมะเขือเทศสีดาและมีสารที่ให้สีเหลืองส้ม ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และอื่นๆ

ใช้เป็นยา :

มะเขือเทศสุก จะช่วยย่อย อาหารดีขึ้น ช่วยระบาย และช่วยฟอกเลือด ใช้มะเขือเทศสุกฝานบางๆหรือน้ำคั้นจากผลสดทาหน้า ช่วยให้ผิวหน้าตึงมีน้ำมีนวลยิ่งขึ้น

ที่มา : สมุนไพร








มะขาม

มะขาม
-Tamarind
-Tamarindus indica Linn.
-CAESALPINICEAE
ใช้เป็นอาหาร :
ใบอ่อน ดอก มีรสเปรี้ยว ใส่ในอาหาร ต้มยำ ต้มโคล้ง ฝักอ่อน มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร น้ำพริกมะขาม ฝักแก่ รสเปรี้ยว ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แกงส้ม แกงคั่ว
คุณค่าทางโภชนาการ :
เนื้อมะขามเปียด มีกรดอินทรีย์สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส วตามินและเอเล็กน้อย มีกัม เพคติน และอื่นๆ เมล็ดมะขาม มีมิวซีเลจสูง ไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำมันชนิด semidrying fixed oil และอื่น
ใช้เป็นยา :
ใบแก่ เป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ เนื้อในแผล แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
เมล็ดแก่ เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก
ที่มา : สมุนไพร

เตยหอม

เตยหอม
-Pandanus
-Pandanus odorus Ridl.
-PANDANACEAE
ใช้เป็นอาหาร :
น้ำคั้นจากใบ นำมาแต่งกลิ่นแต่งสีขนม
คุณค่าทางโภชนาการ :
ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคอลโรฟิลล์
ใช้เป็นยา :
ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุมชื่น
ต้นและราก เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
ที่มา : สมุนไพร

ใบบัวบก

ใบบัวบก
-Asiatic Penyrort
-Centella asiatica Urban
-UMBLLTFERAE
ใช้เป็นอาหาร :
ทั้งต้น กินเป็นผักสด หรือลวกกินกับขนมจีน น้ำพริก นำมาเป็นผักเหนาะ กินกับแกง นำมายำ ทำน้ำใบบัวบกได้
คุณค่าทางโภชนาการ :
บัวบกมีน้ำมันหอมระเหยทุกส่วน สารที่มีรสขม มีสารไกลโคไซด์ มีวิตามินเอสูงมาก มีธาตุแคลเซียม และสารอื่น
ใช้เป็นยา :
ทั้งต้น นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ฟกช้ำได้ ลดการอักเบได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ตำพอกรักษาแผลสด ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ขับปัสสาวะ และทำครีมทางผิวหนังแก้อักเสบ
ที่มา : สมุนไพร

ตะไคร้

ตะไคร้
-Lemon Grass,Lapine
-Cymbopogon citratus Stapf
-GRAMINAE
ใช้เป็นอาหาร : ต้นสด นำมาแต่งกลิ่นเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศ เช่น เป็นส่วนผสมของเครื่องแกงต่างๆ ต้มยำ ยำต่างๆ ต้นสด ทำน้ำตะไคร้ได้
คุณค่าทางโภชนาการ : ทั้งต้น มีน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะลำต้นใต้ดินและบนดิน ถ้ากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหย ชื่อ Lemongrass oil น้ำมันนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ มีเมนทอล แคลเซียม และอื่นๆ
ใช้เป็นยา :
ทั้งต้น เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค เป็นยาทานวดก็ได้
หัว รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดทอ้งเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงธาตุ แก้อาการขับเบา ใบสด จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้อง และท้องเสีย
ต้น เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกปลาย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว และเป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ
ทีมา : สมุนไพร



แครอท

แครอท(Carrot)
- Daucus carota Linn subsp. Sativus Thell.
- UMBELLIFERAE
ใช้เป็นอาหาร : หัว ผัด ใส่แกงจืด ทำส้มตำแบบมะละกอ ดอง ขูด ละเอียดนำไปกวนทำขนม แกะสลัก ประกอบการตบแต่งอาหาร ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ : หัว มีสารเบต้า-แคโรทีนสูง มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีวิตามิน เอ บี1 บี2 และวิตามินซี
ใช้เป็นยา : หัว มีปริมาณของเกลือโปตัสเซียมสูงซึ่งทำให้มีฤทธิ์ในทางขับปัสสาวะ มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ในทางขับพยาธิใส้เดือน

มะตูม

มะตูม
ลักษณะ :
เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 6-10 ม. โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามยาวแข็งๆทั่วไป เปลือกนอกสีเทาอมขาว เปลือกในสีเหลือง เรือนยอด รูปเจดีย์ต่ำหรือรูปไข่ ใบประกอบ ติดเรียงสลับยาว 10-20 ซม. มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างมีขนาดเล็ก และติดตรงข้ามกัน ส่วนใบปลายมีขนาดใหญ่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-12 ซม. เนื้อใบบางเกลี้ยง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจาง ก้านช่อใบยาว 3-5 ซม. ผิวเกลี้ยง ใบอ่อน สีเขียวอ่อนใสๆ ใบแก่ เขียวหม่นๆดอกเล็ก ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ บริเวณปุ่มปมตามกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมี 5 กลีบ มีดอกขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ผล รูปไข่ถึงค่อนข้างกลมป้อม โตวัดเส้นฝ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม.ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีอ่อนถึงเหลือง ผิวเรียบและแข็งมาก ภายในเนื้อเยื่อสีสันที่มียางเหนียวๆ เมล็ดรูปรีและแบน เมล็ดจำนวนมาก

ส่วนที่นำมาใช้ : ราก เปลือกราก แก่น ใบ ผล หนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Corr.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม พะโนงค์ มะตูม มะปิน
สรรพคุณ :
ราก รสฝาดปร่าซ่าขื่นเล็กน้อย แก้พิษไข้ แก้สติเผลอ รักษาน้ำดี แก้หืดหอบ ไอ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ลมอัดแน่นในอก แก้เสมหะ แก้ปวดหัวตาลาย แก้สะอึก แก้อชินโรค แก้ลม แก้ลงท้อง แก้ฝี แก้พยาธิ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้ซางตะกั่ว

เปลือกราก แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ เปลือกต้น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ แก้ลงท้อง แก้พยาธิ แก้บิด แก้ฝีเปื่อยพัง แก้วบวม แก้ตกโลหิต

แก่น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ใบ รสฝาดปร่าซ่า แก้ตาเจ็บ แก้เยื่อตาอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้หวัด แก้เลือดเป็นพิษ แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะเหนียว บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ตัวพยาธิ

ผล แก้ลม แก้เสมหะ แก้โลหิต บำรุงธาตุ รักษาโรคกระเพาะ เป็นยาระบาย

หนาม แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ

ที่มา : สมุนไพรไทย

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน
ลักษณะ : เป็นพืชหัว มีอายุหลายปี ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย อินเดียว จีน อินโดนีเซีย มีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้า โดยตรงออกตรงกลาง ระหว่างใบคู่ใบสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว
ส่วนที่นำมาใช้ : เหง้าสดและแห้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
สรรพคุณ :
เหง้า ของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเช้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุรบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด

กระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบแดง

ลักษณะ : กระเจี๊ยบเป็นพืชล้มลุกในฤดูฝน เป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษาก็เจริญเติบโต ปลอดภัยจากสารพิษ ตู้นสูงประมาณ 2 เมตร ดอกกระเจี๊ยบสีเหลืองสามารถใช้เป็นไม้ประดับ มีผลเป็นฝักยาวประมาณ 3-4 นิ้ว มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี ไนอะซีน

ส่วนที่นำมาใช้ : ผล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaica Sorrel, Red Sorrel, Roselle, Rozelle
ชื่อวงศ์ : MALVACEAE
ชื่อท้องถิ่น : มีชื่อเรียกต่างๆมากมายหลายชื่อ เช่น กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทราย มะเขือพม่า บางคนก็เรียกชือตามรูปร่างว่า ดรรชนีนาง รวมทั้งชื่ออื่นได้แก่ กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเกงเขง

สรรพคุณ :
ใบอ่อนและยอด มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ใช้ต้มหรือแกง กลีบเลี้ยงสีแดง และรสเปรี้ยวมีคุณค่าทางอาหาร ตลอดจนทั้งทำอาหารหวานบางจำพวก เช่น แยม
เมล็ด มีน้ำมันมาก ในไต้หวันใช้เมล็ด เป็นยาแผนโบราณ เพื่อเป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาบำรุง ใช้ทำเครื่องดื่ม เช่น ชา น้ำผลไม้ ไวน์
เส้นใยจากต้น ใช้ทำเชือกและกระสอบ
ผลอ่อน รับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน โดยการต้มรับประทาน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
ผลแห้ง ป่นเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะ

ที่มา : สมุนไพรไทย

วิธีการดื่มน้ำสมุนไพร

วิธีดื่มและข้อควรคำนึงเกี่ยวกับน้ำสมุนไพร

ปัจจุบันได้มีผู้คิดค้นหาวิธีการรักษาโรคต่างๆโดยใช้น้ำที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ น้ำสมุนไพรบางชนิดจะดื่มลำบากในช่วงแรกของการดื่มอาจจะทำให้รู้สึกอึดอัด เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยตารงกับรสนิยมของผู้ดื่ม แต่จะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น วิธีการดื่มที่ดี ควรดื่มแบบจิบช้าๆและควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา มากกว่าปล่อยทิ้งไว้นานแล้วดื่มเนื่องจากจะทำให้คุณค่าลดลงนอกจากนี้ยังสามารถทำดื่มได้ทั้งร้อนและเย็นตามความชอบของแต่ละบุคคล


การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียวกันติดต่อเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้ การดื่มสมุนไพรร้อนๆที่มีอุณหภูมิ 60 C ขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯได้ง่าย

ข้อแนะนำในการเตรียมน้ำสมุนไพร

ข้อแนะนำในการเตรียมน้ำสมุนไพร
การเตรียมน้ำสมุนไพร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้
1. การเลือกสมุนไพร
1.1 สมุนไพรสดเลือกที่สุข เก็บมากจากต้นใหม่ ตามฤดูกาล สีสรรเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพร ไม่มีรอยช้ำเน่าเสีย ความสดทำให้มีรสชาติดี
1.2 สมุนไพรแห้ง การแปรรูปสมุนไพร โดยวิธีทำให้แห้ง เป็นการเก็บรักษาสมุนไพรวิธีหนึ่ง เพื่อให้มีสมุนไพรไว้ใช้นอกฤดูกาล
2. ความสะอาดของภาชนะและสมุนไพร
2.1 ภาชนะที่ใช้เตรียม จะต้องสะอาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร เช่น มะขาม ฯลฯ มีรสเปรี้ยว ควรใชภาชนะเคลือบ
2.2 ภาชนะที่ใช้บรรจุหลังปรุงเสร็จ ควรเป็นภาชนะแก้ว เมื่อบรรจุน้ำสมุนไพรแล้วต้องนึ่งฆ่าเชื้ออีกไม่น้อยกว่า 30 นาที เย็นแล้วจึงเก็บเข้าตู้เย็น จะทำให้น้ำสมุนไพรเก็บได้นาน
2.3 ความสะอาดของตัวสมุนไพร ควรล้างให้ถูกวิธี ถ้าเป็นสมุนไพรแห้ง จะต้องล้างอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นสมุนไพรสด ควรล้างอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา
3. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
จากข้อแนะนำการบริโภคอาหารของคนไทย ควรได้รับไม่เกิดวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งรวมถึงการรับประทานอาหารในมือต่างๆด้วย
วิธีการเตรียมน้ำเชื่อมเข้มข้น
น้ำตาลทราย 100 กรับ (20 ช้อนชา หรือ 7 ช้อนคาวไม่พูน)
น้ำสะอาด 50 กรัม (10ช้อนชา หรือ 3.5 ช้อนคาว)
นำน้ำตาลผสมน้ำตามส่วน ตั้งไฟพอเดือดจนน้ำตาลละลายหมด ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น จะได้น้ำเชื่อมประมาณ 10 ช้อนคาว(30ช้อนชา)
4. การชั่ง ตวง วัด น้ำสมุนไพร
การชั่ง วัด ตวง มีประโยชน์ คือ ทำให้น้ำสมุนไพรที่ปรุงมีรสชาติอร่อยเหมือนทุกครั้ง
5. อุปกรณ์การทำน้ำสมุนไพร
5.1 ควรใช้ครกตำ หรือขูดให้เป็นฝอยแล้วคั้นด้วยผ้าขาวบาง เพื่อแยกน้ำสมุนไพรออกจากาก หรือใช้เครื่องปั่นน้ำผลไม้ หรือเครื่องปั่นน้ำผลไม้ชนิดแยกกาก
5.2 ช้อนตวง (อ้างดัดแปลงใช้ช้อนโต๊ะ หรือช้อนคาว หรือช้อนชาแทนได้)
5.3 ภาชนะสำหรับใส่น้ำสมุนไพร เช่น แก้วน้ำ หรือขวดน้ำ ต้องสะอาด

ที่มา : สมุนไพรดอทคอม

ลักษณะของพืชสมุนไพร

ลักษณะของพืชสมุนไพร
"พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
  1. ราก เช่น กระชาย ขมิ้นชั้น ขิง ข่า
  2. ลำต้น นับเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหลายที่มีอยู่ สามารถค้ำยันไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลง รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง
  3. ใบ มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืช
  4. ดอก ดอกจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ ก้านดอก กลีบรอง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย
  5. ผล

ที่มา : สมุนไพรไทย

สมุนไพร

สมุนไพร
เป็นพืชที่ใช้ทำเครื่องยา
ยาสมุนไพร
ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังไม่ได้ผสมปรุง หรือแปรสภาพ
ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเยวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีก สมุนไพรที่เป็นสัตว์ ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแก ไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร" แบ่งออกเป็น 5 ประการ
  1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
  2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
  3. กลิ่น ให้รู้ว่ามีกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
  5. ชื่อ ต้องรู้ว่าชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่าเป็นอย่างไร

สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปแบบยาสมุนไพรเดี่ยวๆหรือใช้ในรูปตำรับยาสมุนไพร

นอกจากนั้น ยังมาบางส่วนของสมุนไพรที่รับประทานไม่ได้ยังสามารถใชทำยาภายนอกได้ เช่น ช่วยป้องกันยุงกัด รักษาบาดแผล เป็นต้น

ดังนั้น สมุนไพรยังนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วย น้ำสมุนไพรจึงเป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆของพืช เช่น ผลไม้ ผัก/ธัญพืชต่างๆ มาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล การเตรียมน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเองนั้น ราคาจะย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษ รสชาติจะถูกปากของแต่ละบุคคลได้ทั้งกลิ่นและรสตามธรรมชาติของสมุนไพรนั้นๆ

ร่างกายของคนเรามีส่วนประกอบของน้ำประมาณร้อยละ 80 น้ำจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตรองจากอากาศ ร่างกายต้องใช้นำไปช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้ตามปกติ น้ำในร่างกายจะมีการสูญเสียวันละประมาณ 2-3 ลิตร ถ้าเราไม่ดื่มน้ำเข้าไปชดเชย จำทำให้เกิดการกระหายน้ำ ฉะนั้นเราจึงต้องดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเท่ากับที่เสียไป แต่ในบางครั้งความกระหายทำให้คนยังยึดติดในรสชาติ จึงมักหันไปดื่มน้ำที่ใช้รสชาติ เช่น น้ำสมุนไพรซึ่งมีประโยชน์ทางยา มีคุณค่าทางอาหารและช่วยในการป้องกันโรค เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เหงื่อออกมาก ดื่มน้ำสมุนไพรก็จะช่วยให้จิตใจชุ่มชื่น ทำให้รู้สึกสบาย เพราะน้ำสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่อนคลายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เช่น น้ำมะขาม ช่วยลดอาการกระหายน้ำ น้ำสมุนไพรบางชนิดช่วยบำรุงหัวใจเป็นยาเย็น ได้แก่ น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก น้ำสมุนไพรบางชนิด มีคุณสมบัติช่วยย่อย ช่วยให้ธาตุปกติและฟอกเลือด ได้แก่ น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น น้ำสมุนไพรเหล่านี้ เป็นได้ทั้งอาหารและให้คุณค่าทางยาได้บ้างเล็กน้อย ดังนันน้ำสมุนไพรจึงเปรียบเสมือนยาที่ช่วยบำรุง ปกป้อง รักษาสภาวะร่างกายให้เกิดสมดุลย์ทำให้สุขภาพดีในที่สุด

ที่มา : สมุนไพรดอทคอม / สมุนไพรไทย

สมุนไพร